เมื่อองค์กรมีความจำเป็นในการจะทำการใช้ไฟล์ข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการเข้าใช้งานไฟล์ต่างๆในระบบ และมีการแบ่งระดับการเข้าถึงไฟล์แต่ส่วนงานที่แตกต่างๆกัน FTP Server เป็นคำตอบที่จะใช้สำหรับการแชร์ไฟล์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร จึงขอนำเสนอ การทำ FTP server ในบทความนี้
FTP(File Transfer Protocol)
คือ เครื่องบริการการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเข้าใช้ แต่บางเครื่องอาจเป็นให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าใช้ โดยใช้รหัสสมาชิก anonymous ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็นรหัสผู้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม
FTP คือโปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนข้อมูล โดยเครื่องที่เปิดบริการ FTP จะเปิด TCP port 21 ไว้ การเชื่อมต่อของ FTP มี 2 mode
1. FTP standard mode คือ การเชื่อมต่อที่ server เชื่อมต่อกับ client ผ่าน port 20 เป็น Out going port ส่วน port ฝั่ง client จะแล้วแต่ตกลงกัน แต่ถ้า client มี firewall ที่ไม่บริการ ftp ก็จะติดต่อไม่ได้
2. FTP passive mode คือ การเชื่อมต่อที่ client เป็นผู้เชื่อมต่อไปยัง server เพื่อใช้หมายเลข port ที่แล้วแต่จะตกลงในการส่งข้อมูล (แหล่งข้อมูล: http://www.thaiall.com/internet/internet04.htm)โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting (Server) ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วันโดยไม่มีวันหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting (Server) ไม่เคยปิดนั่นเอง ทีนี้เรามาพูดถึงการสร้างเว็บไซต์กันบ้าง การสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML, PHP, ASP, ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง สำหรับโปรแกรมที่แนะนำให้ใช้ในการโอนย้ายไฟล์นั้น คือโปรแกรม Filezilla เพราะเป็น Opensouce สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี และใช้งานง่าย มีการ Update โปรแกรมอยู่โดยตลอด (แหล่งข้อมูล:
http://www.ninetechno.com/a/website/71-joomla-ftp.html)
สำหรับ Ubuutu Server 10.04-12.04 ติดตั้งและคอนฟิกระบบดังนี้
- ติดตั้ง vsftpd
apt-get install vsftpd
- แก้ไขไฟล์ /etc/vsftpd.conf
sudo gedit /etc/vsftpd.conf
- ลบคอมเม้นต์ # หน้าบรรทัดเหล่านี้
- #local_enable = YES
- #write_enable = YES
- #local_umask = 022
- #chroot_local_user = YES
- save แล้วปิด Gedit
- รีสตาร์ต vsftpd
sudo /etc/init.d/vsftpd restart
สร้างไดเรกทอรี
sudo mkdir /srv/ftp
sudo usermod -d /srv/ftp ftp
sudo /etc/init.d/vsftpd restart
7. เอาคอมเม็นต่างๆ ออกดังนี้
chroot_list_enable=YES
chroot_list_file=/etc/vsftpd.chroot_list
sudo /etc/init.d/vsftpd restart
8. เพิ่มความปลอดภัยให้กับ ftp server
ssl_enable=Yes
rsa_cert_file=/etc/ssl/certs/ssl-cert-snakeoil.pem
rsa_private_key_file=/etc/ssl/private/ssl-cert-snakeoil.key
sudo /etc/init.d/vsftpd restartเสร็จแล้ว (แหล่งข้อมูล:
https://help.ubuntu.com/10.04/serverguide/ftp-server.html)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น