ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น (Web Application Technology) ยุคใหม่

 เทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น (Web Application Technology) ยุคใหม่

เทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น Web Application เป็น เทคโนโลยีแอปพลิเคชั่นโปรแกรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกจัดเก็บและเข้าถึงจากเซอฟ์เวอร์ (Web Server Side) ผ่านการโต้ตอบจากเว็บบราว์เซอร์ (Web Broser) ซึ่งมีเว็บเซอร์วิสต่างๆ ให้บริการกับผู้ใช้งาน ด้วยระบบเว็บไซต์ ซึ่งภายในเว็บไซต์ จะประกอบไปด้วย เอกสารเว็บที่รวมรวบไว้ตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของหรือผู้พัฒนา เว็บแอปพลิเคชั่น ได้แก่ E-commerce Social Media Webmail เป็นต้น

ตัวอย่างของเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น 

  1. Web Mail  เว็บแอปพลิเคชั่นประเภทนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไป และองค์กรในการเข้าถึง E-mail และเครื่องมือสื่อสร้าง รวมไปถึงการทำงานร่วมกันภายในองค์กร อาจจะมีการสื่อสารผ่าน Video Meet ในการประชุม นอกจากนี้ยังมีตารางเวลากิจกรรมภายในองค์ เป็นต้น เพื่อให้องค์กรและบุคคลภายในองค์ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สะดวกในการควบคุมการทำงาน เช่น google mail เป็นเว็บแอปพลเคชั่นซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัท google และอีกหลายบริษัทก็มีเว็บแอปพลิเคชั่นในลักษณะนี้ 
  2. E-Commerce เป็นเว็บแอปพลิเคชั่นที่เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์ ถูกใช้เพื่อในการค้นหาสินค้า สั่งซื้อสินค้า และโต้ตอบกับผู้จำหน่ายได้โดยตรงได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น Amazon Shoppy Lazada ที่เน้นเพื่อนำเสนอสินค้า ขายสินค้า ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้กับร้านค้า หรือ บริษัทที่จัดจำหน่ายสินค้า 
  3. Social Media
  4. Online Banking
  5. Content management System
  6. Project management Tools
  7. Work Plance Collaboration 

ประโยชน์ของเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น

    แอปพลิเคชันเว็บมีประโยชน์มากมาย ประโยชน์ทั่วไปบางประการมีดังต่อไปนี้:
  1. ความเข้ากันได้กับหลายแพลตฟอร์ม (Compatibility with multiple platforms) ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บแอปพลิเคชันเวอร์ชันเดียวกันได้จากเบราว์เซอร์ต่างๆ และบนอุปกรณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันได้ เช่น เดสก์ท็อป โทรศัพท์มือถือ และแล็ปท็อป
  2. การบำรุงรักษาต่ำ (Low maintenance) ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปและไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษา  เว็บแอปจะได้รับการอัปเดตอัตโนมัติซึ่งรับประกันว่าแอปจะได้รับการอัปเดตอยู่เสมอพร้อมใช้งานเสมอในรูปแบบและเวอร์ชั่นที่เป็นปัจจุบัน ลดรายจ่าย กำลังคนในการติดตั้ง อัปเดต และบำรุงรักษา
  3. ความสามารถในการปรับขนาด (Scalability) ระบบเว็บแอปพลิเคชั่นสามารถที่ปรับปรุงระบบได้ตลอดเวลา สำหรับการขยายการให้บริการเพิ่มเติมในภายหลังโดยไม่กระทบต่อระบบการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้ เพื่มความยึดหยุ่นในการดำเนินการทางธุรกิจ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของระบบ
  4. การรักษาความปลอดภัยขั้นสูง(Enhanced security) เว็บจำนวนมากมีมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง เช่นการเข้ารหัสและการตรวจสอบผู้ใช้ที่ปลอดภัยเพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
  5. การทำงานร่วมกันที่ดีขึ้น (Improved collaboration) เว็บจำนวนมากรองรับการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้ใช้หลายคนสามารถทำงานในโปรเจ็กต์เดียวกันได้พร้อมกัน และอาจมีประโยชน์มากสำหรับทีมงานที่กระจัดกระจายกันทางภูมิศาสตร์
  6. การพัฒนาที่คุ้มต้นทุนการพัฒนา(Cost-effective development) เว็บอาจคุ้มต้นทุนมากกว่าเมื่อเทียบกับแอปพลิเคชันเดสก์ท็อปแบบดั้งเดิม เนื่องจากมักต้องมีการลงทุนเริ่มต้นน้อยกว่า และดูแลรักษาและอัปเดตได้ง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น เวอร์ชันเดียวสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นบนเบราว์เซอร์และอุปกรณ์ที่ทันสมัยทั้งหมด จึงไม่จำเป็นต้องสร้างเวอร์ชันซ้ำหลายเวอร์ชันสำหรับแพลตฟอร์มเบราว์เซอร์ที่แตกต่างกัน

ประเภทของเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น

เทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น สามารถแบ่งออกได้หลักๆ  6 อย่าง ดังนี้ 
  1. ส่วนหน้าบ้าน หรือ FrontEnd 
  2. ส่วนหลังบ้าน หรือ BackEnd
  3. Full Stack 
  4. เว็บเซอร์เวอร์ และโฮสติ้ง 
  5. โปรโตคอลและมาตราฐานเว็บ
  6. เครื่องมือและยูทิลิตี้สำหรับการพัฒนา

โปรโตคอลเว็บแอปพลิเคชั่น (Web Application Protocol)

โปรโตคอลเว็บเป็นกฎและมาตรฐานที่ควบคุมวิธีการส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต โปรโตคอลเว็บที่สำคัญ ได้แก่:
  1. HTTP (Hypertext Transfer Protocol) เป็นจุดเริ่มต้นของรากฐานสำหรับการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบ WWW(World Wide Web) 
  2. HTTPS (HTTP Secure):เวอร์ชันเข้ารหัสของ HTTP ซึ่งให้การสื่อสารที่ปลอดภัยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  3. WebSocket:โปรโตคอลที่เปิดใช้งานช่องทางการสื่อสารแบบฟูลดูเพล็กซ์บนการเชื่อมต่อ TCP เดียว
  4. FTP (File Transfer Protocol):ใช้สำหรับการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย
  5. SMTP (Simple Mail Transfer Protocol):โปรโตคอลมาตรฐานสำหรับการส่งอีเมล
  6. POP3 (Post Office Protocol) และ IMAP (Internet Message Access Protocol):โปรโตคอลสำหรับการดึงอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์
  7. DNS (Domain Name System):แปลชื่อโดเมนที่มนุษย์สามารถอ่านได้เป็นที่อยู่ IP นอกจากนี้ยังจัดการระเบียน DNSซึ่งจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับโดเมน รวมถึงการแมป IP รายละเอียดเซิร์ฟเวอร์อีเมล และการตั้งค่าการรับรองความถูกต้อง
  8. TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) คือชุดโปรโตคอลพื้นฐานที่อินเทอร์เน็ตสร้างขึ้น
    การทำความเข้าใจโปรโตคอลเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันเว็บที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้

เทคโนโลยีมาตรฐานเว็บแอพลิเคชั่น

เทคโนโลยีเว็บมาตรฐานได้รับการนำมาใช้และรองรับอย่างแพร่หลายในเบราว์เซอร์และแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งรวมถึง:
  • HTML Hypertext Markup Language
  • CSS Cascading Style Sheets
  • JavaScript (ECMAScript)
  • WebAssembly
  • Web Component 
  • WebGL
  • WebRTC
  • Service Workers
  • IndexedDB
  • localStorage และ sessionStorage 

ภาษาในการพัฒนาเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่นWeb Programming Languages

  • HTML เป็นภาษาสำหรับสร้างเอกสารเว็บหรือเนื้อหาบนเว็บ web content.
  • CSS เป็นชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับจัดวางเนื้อหา ออกแบบ และตกแต่งเอกสารหรือเนื้อหาบนเว็บ ในหน้าเว็บ (Web Page)
  • JavaScript เป็นภาษาสำหรับการโต้ตอบกับผู้ใช้ผ่านการโต้ตอบหน้าเว็บเพื่อตอบสนองตามเหตุการณ์ Event เพื่อให้ทำงานผ่านบราว์ดเซอร์ Brower 
  • Python เป็นภาษาที่นิยมใช้สำหรับการทำงานหลังบ้าน การจัดการข้อมูล และการทำปัญญาประดิษฐ์
  • PHP เป็นภาษาแรกที่ถูกใช้เพื่อให้ทำงานในส่วนของเบื้องของเว็บแอปพลิเคชั่นในฝั่งของ Server 
  • Ruby
  • Java ข้อดูคือถ้าต้องการเว็บแอปพลิเคชั่นสามารถเพิ่มหรือขยายให้มีขนาดใหญ่ในอนาคตได้
  • TypeScript 
  • SQL เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดการข้อมูลและฐานข้อมูล
  • Go ใช้เพื่อถ้าต้องการให้เว็บแอปพลิเคชั่นมีประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการให้บริการ 

รูปแบบข้อมูลของเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น (Web Data)

    ในเอกสารเว็บแอปพลิเคชั่นรูปแบบข้อมูลที่ถูกใช้ในการจัดการข้อมูลหรือสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเรียง การปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันต้องมีรูปแบบในการสื่อสารที่สามารถเข้าใจระหว่างกันได้ เว็บแอปพลิเคชั่นจึงมีรูปแบบในการใช้ ดังนี้ คือ
  • JSON (JavaScript Object Notation):
  • XML (eXtensible Markup Language)
  • YAML (YAML Ain’t Markup Language)
  • CSV (Comma-Separated Values)
  • Protocol Buffers
  • GraphQL
  • RSS (Really Simple Syndication)

อ้างอิง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Interactive เทคโนโลยีเชิงโต้ตอบเปลี่ยนโลกเข้าสู่ยุค Metaverse

เทคโนโลยี Interactive คืออะไร คำนิยามของ เทคโนโลยี Interactive ที่สร้างและพัฒนาขึ้นสำหรับโปรแกรมหรือแอพลิเคชั่นที่เป็น Real-Time เรียกง่ายๆว่า Real-Time Programming (RTP) โดยเน้นไปยังผู้ใช้หรือมนุษย์นั้นเอง จะประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบ คือ ส่วนแรก เทคโนโลยี Interactive เข้าทำการเปลี่ยนแปลรูปร่าง ขนาด และรูปแบบ ซึ่งมาจาก web service อุปกรณ์ sensor ผ่านคอมพิวเตอร์ และมือถือ เป็นผสมผสานระหว่างระบบดิจิทัลและแอนนาล๊อกเข้าด้วยกัน ผ่านปุ่ม สไลด์เดอร์ หรือสวิทซ์ เพื่อการควบคุมในส่วนควบคุมทั้งหมด ที่เรียกว่า Control panel  ส่วนที่ 2  แอพลิเคชั่นที่ทำงานแบบ Real Time Application ถูกออกแบบในแนวคิดหลักของเทคโนโลยี Real Time  อ้างอิง https://interactiveimmersive.io/blog/beginner/02-interactive-technology/ เทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่เน้นการสร้างต้นแบบที่เร็วขึ้น มีประโยชน์อย่างมากในแอปพลิเคชันและประสบการณ์การสร้างต้นแบบ  ประเภทของเทคโนโลยี Interactive  มี 6 ประเภท 1. IoT เป็นแนวคิดจะเปลี่ยนบริการทุกบริการให้อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับแอพลิเคชั่นทุกแอ...

Routing Protocol คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ทำหน้าที่อะไร

 Routing Protocol คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ทำหน้าที่อะไร         ในกระบวนการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายจะมีกระบวนการหรือกฏหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ กระบวนการนี้เรียกว่า Routing Protocol            Routing Protocol  คือ Protocol มีหน้าที่สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางสำหรับอุปกรณ์ค้นหาเส้นทาง หรือ Router ข้อมูลที่ส่งไปเป็น routing information ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เพื่อส่งข้อมูลแพ็กเก็จจาก ผ่านตัว Router ไปยัง IP ปลายทางได้ หรือผ่าน Router ตัวไหน โดยตรวจสอบจากได้จาก routing table หรือตารางเส้นทางนั้นเอง  ประเภทของ Routing Protocol   Interior gateway Protocol  มี 2 Type คือ   Type 1  Link State Routing Protocols Open Shortest Path Frist ( OSPF) Intermediate System to Intermediate System (IS-IS) Type 2 Distance-Vector Routing Protocols Routing Information Pro...