ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Blockchain และ Cryptocurrency เข้าใจง่ายๆ

 ปัจจุบันต้องยอมรับกันแล้วว่า เทคโนโลยีด้านดิจิทัลและด้านคอมพิวเตอร์ได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว จนสามารถพัฒนามาใช้งานในด้านต่างๆ หลายๆ ด้าน ด้านหนึ่งจะหยิบยกมาเพื่อสร้างความเข้าใจคือ เรื่องของ ระบบ Blockchain ที่เป็นที่นิยมกันมากอันเนื่องมาจากได้มีการประยุกต์เข้ามาในระบบการเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะมีความรุ้ความเข้าใจว่า ระบบ Blockchain คืออะไร มีอะไรดี และสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง ด้านไหนที่ควรจะนำมาใช้งาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับงานนั้นๆ ดังนั้นจึงขอเรียบเรียงดังต่อไปไนี้ 

1. Blockchain จริงๆ แล้วคืออะไร ทุกอาจจะเข้าใจว่า Blockchain คือ BitCoin หรือเหรียญคริปโต หรือเหรียญดิจิทัล ความหมายที่แท้จริงอาจจะมีน้อยคนที่เข้าใจ หรือคนที่เข้าใจอาจจะเป็นเฉพาะผู้พัฒนาหรือผู้ใช้งานเฉพาะทางหรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 

Blockchain อธิบายอย่างเข้าใจง่ายๆ คือ มี 2 คำที่ประกอบกันคือ Block กับ chain ดังนั้นเริ่มต้นจากคำว่า Block ในความหมายทั่วไปคือ กรอบ หรือ กล่อง หรืออะไรที่ก้อนเป็นก้อน ส่วนคำว่า Chain คือ ส่วนที่ร้อยของสองสิ่งเข้าด้วยกัน หรือเรียกว่า การเชื่อมโยง 

- คำว่า Block น่ะที่ในความหมายของ Blockchain จะเป็นรูปแบบการจัดการข้อมูลแบบหนึ่ง หรือ เรียกว่า โครงสร้างข้อมูล Data Structure ซึ่งไม่ใช้เรื่องแปลกใหม่อะไร ก็แค่จัดโครงสร้างเพื่อเก็บข้อมูลอะไรสักอย่างหนึ่งเช่น ประวัติลูกค้า ซึ่งจะประกอบไปด้วย รหัสลูกค้า ชื่อลูกค้า ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ อีเมลล์เป็นต้น 

- คำว่า Chain หรือส่วนเชื่อมโยง เรามี Block แล้ว อธิบายง่ายๆ คือ 1 Block คือ 1 ชุดข้อมูลของประวัติลูกค้า ในกรณีที่เรามีหลายชุดข้อมูล เราก็จะมี Block เพิ่มขึ้นอีกหลายๆ Block เมื่อเราต้องการที่จะเก็บประวัติลูกค้าทั้งหมดไว้ที่เดียวกัน เราจำเป็นต้องจัดการ block หลายนี้ให้สามารถที่จะเข้าไปใช้งานได้ง่าย เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาก็หาได้เร็ว สามารถหยิบไปใช้งานได้เลย เพื่อความง่ายและรวดเร็ว ดังนั้น chain จึงมีหน้าที่ในการเชื่อมโยง Block หลายนี้เข้าด้วยกัน เอาแค่นี้ก่อน 

เมื่อเราได้ โครงสร้างข้อมูล Block และส่วนของการเชื่อมโยง chain เพื่อความปลอดภัยของการเก็บข้อมูลจึงจำเป็นจะต้องมีกระบวนการเข้ารหัส โดย Blockchain จะมีการเข้ารหัสในส่วนของ chain หรือส่วนเชื่อมโยง โดยให้วิธีการเข้ารหัส hash ที่ส่วนของ Chain หรือการเชื่อมโยง เพื่อป้องกันการถูกแก้ไข ต่อไป

เมื่อเรามีโครงสร้างข้อมูล Block และเรามีส่วนเชื่อมโยงคือ Chain แล้ว เมื่อเราต้องการนำไปใช้งาน เราจึงจำเป็นต้องจัดระบบให้เหล่านี้ให้ดี จึงเกิดเป็นระบบ Blockchain    ขึ้นมา ใช้งาน

เมื่อเราได้ไช้งานระบบโครงสร้างข้อมูลนาน เราจำเป็นต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ไม่วาจะเป็นระบบการค้นหาประวัติลูกค้า ป้องกันการแก้ไข ป้องการสูญหาย หรือต้องการอะไรอีกหลายอย่าง เราจำเป็นต้องสร้างระบบเพื่อรองรับต่อ จึงเกิดเป็นระบบ Blockchain ทำเราสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างข้อมูลของเรา หรือประวัติการใช้งานข้อมูลต่างๆ 

ข้อหนึ่งของ Blockchain ระบบจะไม่อนุญาตให้มีการแก้ไข ดัดแปลง ใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อป้องกันข้อมูลให้อยู่ในสภาพเดิม ในกรณีที่จะแก้ไข จะเป็นการสร้าง Block ใหม่จาก Block เดิม โดยมีการเชื่อมโยง chain เดิม ในทุกการแก้ไข เพื่อป้องกันข้อมูลเดิมให้อยู่ในสภาพเดิมตลอดเวลา 

ทุกครั้งของการเกิดของ Block จะมีการทำสำเนาไว้เสมอ โดยอาจจะเก็บไว้ในเครือข่ายๆ อื่นๆ ในลักษณะ peer to peer ระหว่างเครือข่ายกัน 

ถ้าในด้านการเงินจะนำ Blockchain มาใช้เพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน หรือเรียกว่า Transaction คือเป็นการถ่ายโอนข้อมูลทางการเงาานระหว่างกัน เมื่อมีการถ่ายโอนส่ิงที่ถ่ายโอนกันคือตัวเลขทางการเงิน หรือ มูลค่าที่เป็นจำนวนเงิน กระบวนการเหล่านี้จึงถูกพัฒนาเป็นคริปโต หรือเหรียกว่า Cryptocurrency และถูกนำมาใช้แทนมูลค่าที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบการเงิน 

เมื่อ Cryptocurrency  ถูกนำมาใช้ ซึ่งข้อกำหนดอย่างหนึ่งที่ได้พัฒนาขึ้นคือ ความน่าเชื่อถือ โดยการกำหนดมูลค่าขึ้นมา และจำเป็นจะต้องมีระบบที่ทำหน้าควบคุมดูแล Blockchain ประเภทอย่างดี ซึ่งเราอาจจะเรียกว่า ระบบเครือข่าย Blockchain ซึ่งได้ถูกพัฒนาเป็นเฉพาะทาง และมีกลไกเพื่อมารองรับธุรกรรกรมทางการเงินเหล่านี้ ด้วยระบบนี้มีต้นทุนการใช้งานค่อนข้างต่ำ จึงเป็นที่นิยม และถูกพัฒนาดีขึ้นมาเรื่อยๆ 


ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนา Blockchain มาใช้งานแล้ว เช่น โครงสร้างข้อมูลใช้ Smart Contract  ใช้ผ่านรูปแบบ web3.0 รองรับภาษาต่างๆ มากมาย บนเครือข่าย Blockchain truffle hardhat terra เป็นต้น

รูปแบบ web3.0 ที่เป็นที่รู้จักได้แก่ Metamask และ Wallet ต่างๆ 

จนสามารถใช้งานธุรกรรมทางการเงินจริงๆ ได้แล้ว คือ การซื้อขายผ่าน web3.0 โดยใช้การเชื่อมโยงกับ Crpto Wallet ของเรา


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Interactive เทคโนโลยีเชิงโต้ตอบเปลี่ยนโลกเข้าสู่ยุค Metaverse

เทคโนโลยี Interactive คืออะไร คำนิยามของ เทคโนโลยี Interactive ที่สร้างและพัฒนาขึ้นสำหรับโปรแกรมหรือแอพลิเคชั่นที่เป็น Real-Time เรียกง่ายๆว่า Real-Time Programming (RTP) โดยเน้นไปยังผู้ใช้หรือมนุษย์นั้นเอง จะประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบ คือ ส่วนแรก เทคโนโลยี Interactive เข้าทำการเปลี่ยนแปลรูปร่าง ขนาด และรูปแบบ ซึ่งมาจาก web service อุปกรณ์ sensor ผ่านคอมพิวเตอร์ และมือถือ เป็นผสมผสานระหว่างระบบดิจิทัลและแอนนาล๊อกเข้าด้วยกัน ผ่านปุ่ม สไลด์เดอร์ หรือสวิทซ์ เพื่อการควบคุมในส่วนควบคุมทั้งหมด ที่เรียกว่า Control panel  ส่วนที่ 2  แอพลิเคชั่นที่ทำงานแบบ Real Time Application ถูกออกแบบในแนวคิดหลักของเทคโนโลยี Real Time  อ้างอิง https://interactiveimmersive.io/blog/beginner/02-interactive-technology/ เทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่เน้นการสร้างต้นแบบที่เร็วขึ้น มีประโยชน์อย่างมากในแอปพลิเคชันและประสบการณ์การสร้างต้นแบบ  ประเภทของเทคโนโลยี Interactive  มี 6 ประเภท 1. IoT เป็นแนวคิดจะเปลี่ยนบริการทุกบริการให้อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับแอพลิเคชั่นทุกแอ...

สำรองข้อมูลใน MySQL ด้วย mysqldump ข้อมูลใน MySQL Character-set ภาษาไทย

การ backup ฐานข้อมูลสำหรับ mysql ในบางครั้งจะเกิดปัญหาสำหรับการใช้งานภาษาไทย ที่ตัวอักษรมักจะเกิดเป็น ?????  จึงต้องทำให้มั่นใจก่อนว่า การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นภาษไทย สมบูรณ์ จึงมีการแปลง character set ก่อน สำหรับในการแปลงฐานข้อมูลจากเดิมที่เป็น latin1 หรือ tis620 ให้เป็น utf8 มีเงื่อนไขเบื้องต้นว่า หาก character-set ของฐานข้อมูลเป็น tis620 หรือ  latin1 ต้องไม่กำหนดค่า default-character-set=utf8 ใน my.cnf (สำหรับ Linux อยู่ที่ /etc/my.cnf หรือ /etc/mysql/my.cnf)